นโยบายของภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม

นโยบายของภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม
              ปัจจุบันนโยบายที่ส่งเสริมการเข้าถึงสารสนเทศของผู้พิการทางสายตาของภาครัฐ ถูกนำมาปฏิบัติให้เกิดผลในปริมาณน้อย และพบว่าผู้พิการทางสายตาส่วนใหญ่ยังคงประสบปัญหาการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศในเกือบทุกๆ สื่อ โดยเฉพาะสื่อที่มาทดแทนสื่อสิ่งพิมพ์ของผู้พิการทางสายตา อันเนื่องมาจากปัจจัยเรื่องเทคโนโลยีที่มีราคาแพงและการออกแบบเว็บไซต์ที่ไม่รองรับการเข้าถึงสารสนเทศของผู้พิการทางสายตา การขาดความรู้และความไม่เอื้ออำนวยของระบบสังคม และการสนับสนุนจากผู้วางนโยบายและผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐ สำหรับการเคลื่อนไหวทางสังคมพบว่า ชุมชนคนตาบอดมีความเคลื่อนไหวทั้งทางด้านกฎหมายและนโยบายโดยผู้นำชุมชนคนตาบอดและทางด้านภาคประชาสังคม และยังพบว่า ผู้พิการทางสายตาส่วนใหญ่ที่ทำการสำรวจคิดว่าสื่ออินเทอร์เน็ตจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศของผู้พิการทางสายตาได้

นโยบายของภาครัฐ

พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับ 2) พ.ศ.2556

              มาตรา 20  คนพิการมีสิทธิเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ซึ่งในข้อ 6 เกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีการกำหนดไว้ดังนี้(6) ข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร บริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารสำหรับคนพิการทุกประเภทตลอดจน บริการสื่อสาธารณะจากหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนด ในกฎกระทรวง

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 

              ออกกฎกระทรวงไว้ กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข ในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารบริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร และบริการสื่อสาธารณะ สำหรับคนพิการ พ.ศ. 2554
  • ข้อ 3 หน่วยงานของรัฐหรือเอกชน ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ ต้องจัดให้ข้อมูล ข่าวสาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
                  (1) การออกแบบที่เป็นสากลและเป็นธรรม

                  (2) การจัดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อการสื่อสาร ให้เป็นไปตามความต้องการพิเศษของคนพิการแต่ละประเภท
  • ข้อ 5-13 เป็นเรื่องของคนพิการที่ประสงค์จะใช้สิทธิขอยืมเทคโนโลยี ให้ยื่นคำขอต่อหน่วยงาน พร้อมทั้งหลักฐานการยืม และระยะเวลาตามสัญญายืม ต้องส่งมอบเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสารที่ยืมไปคืน ณ สถานที่ยื่นคำขอภายในสิบห้าวัน
  • ข้อ 14 ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดให้คนพิการผู้ปกครองผู้พิทักษ์ ผู้อนุบาล ผู้ดูแลคนพิการ หรือผู้ช่วยคนพิการ ได้รับการฝึกอบรม เพื่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารบริการโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการสื่อสาร หรือบริการสื่อสาธารณะ อย่างทั่วถึงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย


          นอกจากนี้ ยังมีนโยบายการเข้าถึงสารสนเทศคนพิการ ของสถาบัน เทคโนโลยีเพื่อคนพิการและผู้สูงอายุ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) โดยมีมาตรการและแนวการ ดำเนินงานเกี่ยวกับการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศของคนพิการ มีดังนี้
  1. การออกกฎหมายและบังคับใช้กฎหมาย นโยบาย แผนงานโครงการของภาครัฐที่จะตรวจสอบ คุ้มครองสิทธิของคนพิการในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  2. การจัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของคนพิการขึ้นในหน่วยงานภาครัฐ
  3. สร้างความตระหนักรู้ โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การจัดให้มีการอบรมรวมถึงความรู้แก่ผู้จัดทำหรืองานนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในบริษัทเอกชน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องความพิการ ความต้องการเข้าถึง และความสามารถในการมีส่วนร่วมในสังคมของคนพิการ
  4. ฝึกอบรมคนพิการให้มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือเข้าถึงการสื่อสาร (Assistive Technology)
  5. จัดให้มีมาตรการจูงใจต่าง ๆ รวมทั้งการยกเว้นภาษีอากรเครื่องอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับคนพิการ ตลอดจนมีมาตรการสนับสนุนค่าใช้จ่าย อุปกรณ์เครื่องมือช่วยคนพิการเพื่อให้คนพิการยากจนสามารถจัดหาซื้อได้
  6.  ส่งเสริมการรวมตัวและการร่วมมือระหว่างองค์กร คนพิการเพื่อเพิ่มพลังซื้อและสร้างอำนาจต่อรองในเรื่องราคาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  7. ส่งเสริมให้มีการยอมรับและสนับสนุนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในทุกกระบวน
  8. ส่งเสริมให้มีการยอมรับและสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตามมาตรฐานนานาชาติที่เป็นสากล
  9. กำหนดให้รหัสตัวอักษรคอมพิวเตอร์ภาษาไทยและภาษาชนเผ่าต่าง ๆ ให้ประเทศไทยใช้รหัสมาตรฐานที่เป็นสากล
  10. สร้างกลไกสนับสนุนภาคประชาสังคมองค์กรผู้แทนที่สะท้อนปัญหาความต้องการของคนพิการในการริเริ่มให้มีการจัดทำมาตรฐานไปสู่ระดับสากล
  11. ให้การสนับสนุนโครงการขององค์กรต่าง ๆ เพื่อสร้าง หลักประกันการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของคนพิการ
  12. จัดให้มีมาตรการทางสังคมที่ยกย่ององค์กรเอกชนที่ดำเนินการสนับสนุน การเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของคนพิการ
  13. สนับสนุนการน าเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกให้สามารถใช้ได้ในภาษาไทย
  14. สนับสนุนให้มีการซ่อมบำรุงรักษา เทคโนโลยีช่วยเหลือคนพิการในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างยั่งยืน การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องและการท าการวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยกำหนดให้มีองค์กรรองรับในการกระจายสื่อสิ่งอำนวยความสะดวก
  15. ส่งเสริมให้มีการอบรมความรู้คนพิการเกี่ยวกับกระบวนการด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยรวม การอบรมวิธีการสื่อสารกับนักพัฒนาโปรแกรมและหน่วยงานมาตรฐานคอมพิวเตอร์
  16. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จะช่วยเพิ่มความสามารถคนพิการในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยให้ความสนใจเป็นพิเศษกับคนพิการระดับรุนแรงและคนพิการซ้อน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น