สถานการณ์ของคนตาบอดในต่างประเทศ

ความเจริญอย่างยิ่งยวดของเทคโนโลยี บ่มเพาะสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆขึ้นมาตอบสนองความต้องการของมนุษย์ วิวัฒนาการสื่อการเรียนการสอนที่นำมาใช้ในระบบการศึกษาของคนตาบอดก้าวกระโดดสู่เทคโนโลยีระดับสูงเช่นเดียวกัน
ในต่างประเทศ มีเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการทางสายตามากมาย และผลิตออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ สำหรับผู้พิการทางสายตาโดยเฉพาะ สร้างโอกาสให้ผู้พิการทางสายตาเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับการศึกษา การฝึกสอนอาชีพ จัดหางาน และช่วยให้ผู้พิการทางสายตาปรับตัวเข้ากับชุมชนและสังคมอย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ในต่างประเทศก็มีการพัฒนาสมาร์ทโฟนเพื่อคนตาบอดขึ้นมา เป็นสมาร์ทโฟนอักษรเบลล์เครื่องแรกของโลกที่ประเทศอินเดีย ทุกวันนี้โทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ทโฟนได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของคนยุคใหม่ไปแล้ว หากจะเปรียบเป็นปัจจัยที่ 5 ของคนยุคใหม่ก็คงจะไม่ผิด ด้วยความที่มันเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่สามารถเชื่อมต่อโลกอินเทอร์เน็ต เป็นทั้งเครื่องเล่นเพลง กล้องดิจิตอล และเครื่องเล่นเกม ภายในเครื่องเดียว อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีผู้คนอีกมากมายที่ไม่มีโอกาสได้ใช้หรือไม่สามารถเข้าถึงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้พิการทางสายตา


ตัวอย่าง

สิ่งประดิษฐ์เพื่ออานวยความสะดวกแก่ผู้พิการทางสายตา ในชื่อ "สมาร์ทโฟนอักษรเบรลล์เครื่องแรกของโลก" ซึ่งเป็นฝีมือของนายสุมิต ดาการ์ นักนวัตกรรมชาวอินเดีย ที่ร่วมกับสถาบัน Indian Institute of Technology Delhi , L V Prasad Eye Institute จากการสนับสนุนทุนโดยบริษัท Rolex สำหรับสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวนั้น ใช้เวลามากกว่า 3 ปีในการพัฒนา ด้วยเทคโนโลยี Shape Memory Alloy ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถทาให้โลหะสามารถกลับคืนสู่รูปร่างเดิมได้ สมาร์ทโฟนเครื่องดังกล่าวจึงไม่ได้ผลิตด้วยกระจกเช่นเดียวกับมือถือหน้าจอสัมผัสทั่วไป แต่เป็นหน้าจอสัมผัสแบบใหม่ที่ประกอบไปด้วยเข็มโลหะเล็กๆ อยู่ภายใน ซึ่งสามารถทาให้เกิดเป็นปุ่มนูนออกมาที่ด้านนอก เมื่อมีข้อความ อีเมล์ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ ยังสามารถใช้โทรศัพท์เครื่องดังกล่าวสแกนข้อความต่างๆ เพื่อให้แปรเป็นอักษรเบรลล์ หรือใช้อ่านข้อมูลแผนที่ เล่นเกม ฟังเพลง หรือพิมพ์ข้อความผ่านแป้นพิมพ์อักษรเบรลล์ได้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น