การใช้คอมพิวเตอร์สาหรับผู้พิการทางสายตา

         เทคโนโลยีการเข้าถึงสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยให้สามารถเข้าใจถึง ข้อมูลสารสนเทศจากผู้นำเสนอได้ ก่อนอื่นคงต้องมาดูกันก่อนว่าคนพิการทางการมองเห็นสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์กันได้อย่างไร คนทั่วไปส่วนใหญ่จะคิดว่าคนตาบอดไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ ถ้าใช้ได้ก็คงต้องมีคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างไปจากทั่วๆ ไป แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผิดถนัด คนตาบอดหรือคนพิการทางการมองเห็น สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้เหมือนกับคนทั่วไป
คนตาบอดใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างไร


เครื่องคอมพิวเตอร์ที่คนตาบอดใช้เป็นคอมพิวเตอร์ทั่วไป ส่วนแป้นพิมพ์ (keyboard) ใช้คีย์บอร์ดปกติ ไม่ต้องติดอักษรเบรลล์  พวกเราใช้วิธีพิมพ์สัมผัส จดจำปุ่มในตำแหน่งต่าง ๆ  เราใช้ปุ่ม f มือซ้าย และปุ่ม j มือขวา (ตำแหน่งนิ้วชี้บนแป้นเหย้า) เป็นศูนย์กลางในการพิมพ์ตัวอักษรเหมือนการวางนิ้วเมื่อใช้พิมพ์ดีด  จุดควรสังเกตบนคีย์บอร์ดคือปุ่ม f และ j มีขีดหรือตุ่มนูน ๆ เหมือนเลข 5 บนแป้นตัวเลขของเครื่องคิดเลขและโทรศัพท์
 เราอาจมีความถนัดในการใช้อุปกรณ์แตกต่างกัน  คนตาดีเลื่อนเมาส์แล้วคลิกไปตามภาพและตำแหน่งต่าง ๆ อาจเห็นว่าเมาส์สำคัญมากเสียจน "วันใดขาดเมาส์แล้วเราจะรู้สึก" แต่สำหรับพวกเราคนตาบอด "คีย์บอร์ดนั้นสำคัญนัก"  นอกจากเราจะใช้คีย์บอร์ดพิมพ์ข้อความแล้ว ยังใช้คีย์บอร์ดเลื่อนลูกศรไปตามตำแหน่งต่างๆ และใช้คำสั่งลัดแทนเมาส์ เช่น คำสั่งใน Word เช่น
- สร้างเอกสารใหม่ (new document) control+n
- เปิดเอกสารเก่า (open) control+o
- บันทึกเอกสาร (save) control+s ฯลฯ
คำสั่งลัด (shortcut) ใน internet explorer เช่น
- u เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังลิ้งค์ที่ยังไม่เคยเข้าเยี่ยมชม (unvisited link)
- v เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังลิ้งค์ที่เคยเข้าเยี่ยมชมแล้ว (visited link)
- f เลื่อนเคอเซอร์ไปยังช่องกรอกข้อมูลหรือแบบฟอร์มต่าง ๆ (form field)
- e เลื่อนเคอเซอร์ไปยังช่องพิมพ์ข้อความบนหน้าเว็บ (edit field)
- h เลื่อนเคอร์เซอร์ไปยังหัวข้อต่าง ๆ บนเว็บไซต์ (heading)
- t เลื่อนเคอเซอร์ไปยังตารางบนเว็บไซต์ (table) ฯลฯ

ขณะที่เขียนเรื่องนี้ทดลองกดเมาส์ดู ขยับไปมา กดปุ่มซ้าย ปุ่มขวา เวลากดไม่มีเสียงหรอกว่าเราคลิกซ้ายหรือคลิกขวา เมื่อเรากดแล้วจึงจะมีเสียงบอกว่า เราหลงทางไปอยู่ที่เมนูไหนแล้ว แต่ถ้าใช้คำสั่งผ่านแป้นพิมพ์ (ตัวอย่างสำหรับ laptop) กดปุ่ม capslock+8 และ capslock+9 ก็จะมีเสียงบอกว่า left mouse button right mouse button (ปุ่ม capslock อยู่ด้านซ้ายมือของอักษร a/ฟ)

  •  โปรแกรมอ่านจอภาพ (Screen Reading Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทาการตรวจจับข้อมูลบนหน้าจอ แล้ว ส่งต่อไปยังเครื่องสังเคราะห์เสียงให้อ่านออกมาเป็นเสียง การทำงานของโปรแกรมอ่านจอภาพนั้น เราสามารถ กำหนด ให้อ่านข้อมูลเป็นตัวอักษรคาบรรทัด หรือ ทั้งหน้าจอก็ได้
  • เครื่องสังเคราะห์เสียง (Speech Synthesizer) เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่นำมาต่อเชื่อมกับโปรแกรมอ่าน จอภาพ เพื่อแปลงข้อความบนหน้าจอเป็นเสียงโดย ใช้วิธีการสังเคราะห์เสียง โดยปกติโปรแกรมอ่านจอภาพ และเครื่องสังเคราะห์เสียงต้องทางานร่วมกันเสมอ
  • โปรแกรมสั่งงานด้วยเสียง (Voice Recognition) คือ เทคโนโลยีรู้จาเสียงที่ผู้ใช้สามารถป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ โดยการพูดผ่านไมโครโฟน และสามารถควบคุมคอมพิวเตอร์ได้ด้วยการใช้เสียงพูดและคำสั่งเพียงไม่กี่คำ โปรแกรมสั่งงานด้วยเสียงถูกใช้ประโยชน์โดยคนตาบอด เพื่อออกคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนการ ใช้วิธีการกดคำสั่งผ่านแป้นพิมพ์
  •  โปรแกรมแปลงข้อมูลให้เป็นเบรลล์ (Braille Translation Software) โปรแกรมแปลงอักษรปกติเป็นอักษรเบรลล์ ทำหน้าที่แปลงแฟ้มงานปกติที่พิมพ์ไว้ แล้วให้เป็นรูปแบบที่เหมาะสม การทำงานของโปรแกรมนี้คือ จะมีการสร้างแฟ้มข้อมูลขึ้นมาอีกแฟ้มหนึ่งที่เป็นข้อมูลเบรลล์ก่อนส่งแฟ้มดังกล่าวนั้นไปยังเครื่องพิมพ์เบรลล์

  • โปรแกรมแปลอักษรเบรลล์ DBT จากบริษัท Duxbury system เป็นโปรแกรมแปลอักษรปกติเป็นอักษรเบรลล์สำหรับภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และภาษาอื่นๆ อีกมากมายให้เป็นอักษรอักษรเบรลล์ สำหรับภาษาอังกฤษ สามารถแปลเป็นอักษรเบรลล์ระดับหนึ่ง และระดับสองได้ สามารถแปลงสูตรคณิตศาสตร์จาก Math type เป็นอักษรเบรลล์ สามารถพิมพ์อักษรเบรลล์โดยตรงในระบบ 6 ปุ่ม (s d f j k l) และได้พัฒนาการแปลเอกสารภาษาไทยเป็นอักษรเบรลล์อีกด้วย
  • เครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์ (Braille Display) เป็นอุปกรณ์ที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายคีย์บอร์ด แต่เล็กกว่า เช่น มีแถบปุ่ม 40 ช่องเบรลล์ เป็นต้น ใช้สำหรับแสดงข้อมูลบนจอภาพ โดยข้อมูลจะปรากฏเป็นแถบปุ่มนูนเล็กๆ แทนจุดอักษรเบรลล์ บนเครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์ เมื่อผู้ใช้ ต้องการอ่านข้อความบนจอภาพ ก็สามารถทำได้ โดยเลื่อนเคอร์เซอร์ ไปตามบรรทัดที่ต้องการอ่านข้อความ ก็จะมาขึ้นที่เครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์ทีละบรรทัดให้อ่าน เทคโนโลยีประเภทเครื่องแสดงผลอักษรเบรลล์นี้ ราคาค่อนข้างแพงมาก

  • เครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ (Braille Printer/ Braille Embosser) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำการพิมพ์เอกสารออกมาในรูปแบบของอักษรเบรลล์
  • สแกนเนอร์และโปรแกรมรู้จำลักษณะตัวอักษร (Scanner and Optical Character Recognition (OCR)) เครื่องสแกนเนอร์ เป็นฮาร์ดแวร์ สำหรับถ่ายสาเนาข้อมูลจาก สิ่งพิมพ์ปกติเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการนาสิ่งพิมพ์ที่ต้องการมาวางไว้บนกระจกรับเอกสาร โดยใช้ร่วมกับโปรแกรม OCR ซึ่งจะมีการวิเคราะห์ให้กลายเป็นรหัสคอมพิวเตอร์ และหากมีระบบอ่านอยู่ในเครื่องก็สามารถให้อ่านให้ฟังได้เลย


ตัวอย่างโปรแกรมอ่านจอภาพ

  1. โปรแกรม Jaws for windows เป็นโปรแกรมอ่านจอภาพที่ผู้ใช้นิยมใช้ทั่วโลก ผลิตโดยบริษัท Freedom Scientific สหรัฐอเมริกา โปรแกรมนี้มีทั้งระบบอ่านจอภาพและระบบสังเคราะห์เสียงในตัว สามารถออกเสียง ผ่านระบบ Sound card ด้วยระบบสังเคราะห์เสียง Eloquence และระบบ Real speak ซึ่งอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษได้ดี และสามารถอ่านภาษาอื่น ๆ ในแถบยุโรปได้ แต่อ่านภาษาไทยไม่ได้
  2. โปรแกรมตาทิพย์ PPA Tatip เป็นโปรแกรมสังเคราะห์เสียงภาษาไทย (Thai text to Speech) โดยเมื่อใช้โปรแกรมดังกล่าวจะต้องใช้ร่วมกับโปรแกรม Jaws for windows และร่วมกับ Microsoft Text to Speech Engine จะทำให้คอมพิวเตอร์แสดงผลทุกอย่างบนหน้าจอเป็นเสียงพูดภาษาไทยควบคู่กันไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น